บริษัท จิณณพัต หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด
บริษัท จิณณพัต หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ตั้งโดยคุณสมชาย ศรฤทธิ์ ผู้มีประสบการณ์ยาวนานในอุตสาหกรรมหม้อแปลงไฟฟ้า ก่อตั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มองหาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง มาตรฐานระดับประเทศไทย ด้วยความคิดริเริ่มและความมุ่งมั่น คุณสมชายได้สร้างบริษัทที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรม ด้วยการผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงทุกขนาด ให้กับลูกค้าทั่วประเทศ
เพิ่มเติมAll About
หม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าคืออะไร?
หม้อแปลงไฟฟ้าคืออุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนึงที่สามารถถ่ายโอนพลังงานได้จากวงจรหนึ่งไปสู่อีกวงจรหนึ่งโดยใช้หลักการเหบี่ยวนำของ แม่เหล็กไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้ามีหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้า มีความสามารถเพิ่มและลดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร ชนิดหม้อแปลงไฟฟ้าแบ่งได้2ชนิด คือหม้อแปลงไฟฟ้า1เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส หม้อแปลงไฟฟ้ามีกี่ประเภท หากจะแบ่งประเภทตามแรงดันไฟฟ้าแบ่งได้เป็น2 ประเภทคือ หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงและหม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงไฟฟ้ามีกี่ขนาด คำตอบคือหลายขนาดขึ้นอยู่กับสเปตการใช้งานของแต่ละอุตสาหกรรม มีขนาดต่างๆดังนี้ หม้อแปลงไฟฟ้า30 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า50 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า100 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า160 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า250 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า315 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า400 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า500 kVA,หม้อแปลงไฟฟ้า630 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า800 kVA,หม้อแปลงไฟฟ้า1000 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า1250 kVA, หม้อแปลงไฟฟ้า1500 kVA,หม้อแปลงไฟฟ้า 2000 kVA , หม้อแปลงไฟฟ้า2500 kVA,หม้อแปลงไฟฟ้า3000 kVA,หม้อแปลงไฟฟ้า4000 kVA โครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า จะประกอบไปด้วย ขดลวด แกนเหล็ก ขั้วสำหรับต่อสายไฟ แผ่นป้ายเนมเพลท ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์ระบายความร้อน
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าจากหนึ่งระดับเป็นอีกระดับ โดยความสัมพันธ์ ระหว่างระดับแรงดันขาเข้าและขาออกขึ้นอยู่กับสัดส่วนของหน้าตัดลวดของคอยล์หม้อแปลง หม้อแปลงไฟฟ้ามีหลายประเภท แต่สองประเภทหลักคือ หม้อแปลงแรงดันสูง (step-up transformer) และหม้อแปลงแรงดันต่ำ (step-down transformer)หม้อแปลงแรงดันสูงใช้เพื่อเพิ่มแรงดันของไฟฟ้า เช่น ในระบบการจ่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปยังระบบกริด ในขณะที่หม้อแปลงแรงดันต่ำใช้เพื่อลดระดับแรงดันไฟฟ้า ก่อนส่งไปยังบ้านพักอาศัยและอุตสาหกรรม นอกจาก ประโยชน์ที่กล่าวมาแล้วหม้อแปลงไฟฟ้ายังมีบทบาทในการป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการขนส่งไฟฟ้าในระยะทางยาว การเพิ่มแรงดันไฟฟ้าเป็นระดับที่สูงขึ้นช่วยลดความสูญเสียของพลังงานในระหว่างการส่งผ่านสายส่งและกระจายไฟฟ้า ซึ่งทำให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นหม้อแปลงไฟฟ้ามีหลายขนาดและความสามารถในการทนทานต่อการใช้งาน มีทั้งหม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันต่ำสำหรับการใช้งานในบ้านครัวเรือน และหม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันสูงสำหรับอุตสาหกรรมและโครงการอื่น การเลือกใช้หม้อแปลงไฟฟ้าที่เหมาะสมสำคัญในการให้บริการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าเสนอ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีการรับรองจากมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจในความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ ของหม้อแปลงไฟฟ้าในการใช้งานประจำวัน หม้อแปลงไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพและ ประสิทธิภาพของ ระบบไฟฟ้ารวมถึงเป็นเครื่องมือในการควบคุมการกระจายพลังงานไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน
How It Works
หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง
- ผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้า
- แกนเหล็ก (ตัดด้วยเครื่องตัดอัตโนมัติ)
- ขดลวดแรงต่ำ แรงสูง
- ห้องทดสอบ (ROUTINE TEST)
เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ทำให้การกระจายของกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากขดลวดแรงต่ าแบบแผ่นกระแสไหลตามแผ่นตัวนำเฉพาะในส่วนที่ถูกเหนี่ยวนำ จากขดลวดแรงสูงเท่านั้น ทำให้จุดกึ่งกลางของกระแสต้านแรงตำ่ปรับตัวเลื่อน ตามด้านแรงสูงตลอดเวลา ไม่ว่าจะปรับแทปไปที่ตำแหน่งใด จะไม่เกิดแรงในแนวแกน (AXIAL FORCE) เลย หม้อแปลงที่ใช้ลวดแบบแผ่นจึงสามารถทนต่อกระแสลัดวงจร (SHORT CIRCUIT CURRENT) ได้สูงสุด
ขดลวดแรงสูง
ผลิตด้วยเส้นลวดอาบฉนวนอย่างดี ห่อหุ้มด้วยกระดาษฉนวนคุณภาพสูงจาก ต่างประเทศ ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยากับน้ำมันในหม้อแปลง มีคุณสมบัติทนต่อ การกระทำทางไฟฟ้าสูง ทนต่อระดับแรงดันฉนวน (INSULATION LEVEL) และทนต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น (TEMPERATURE RISE) รวมทั้งทนต่อการลัดวงจรหรือแรงดันฟ้าผ่า (IMPULSE VOLTAGE) ที่เกิดขึ้น
(MEASUREMENT OF VOLTAGE RATIO AND CHECK OF PHASE DISPLACEMENT)
การวัดความสูญเสียไม่มีโหลด และกระแสไม่มีโหลด (MEASUREMENT OF NO – LOAD LOSS AND CURENT)
การทดสอบความทนต่อแรงดันตามความถี่ก าลังไฟฟ้า (POWER FREQUENCY AC WITHSTAND TEST)
การวัดอิมพีแดนซ์ลัดวงจร (MEASUREMENT OF SHORT – CIRCUIT IMPEDANCE)
การวัดค่าความต้านทานฉนวน (MEASUREMENT OF INSULATION RESISTANCE)
การวัดความต้านทานของขดลวด (MEASUREMENT OF WINDING RESISTANCE)
การทดสอบความคงทนต่อแรงดันเหนี่ยวน าเกิน (INDUCED VOLTAGE TEST)
การทดสอบความเป็นฉนวนของน้ ามัน (OIL DIELECTRIC STRENGTH TEST)
การวัดความสูญเสียมีโหลด (MEASUREMENT OF LOAD LOSS)
การทดสอบรอยรั่วซึมของน้ ามัน (OIL LEAK TEST